วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ส่ง งาน ค่ะ การเข้าหัว LAN

การเข้าหัว lan

สาย UTP คืออะไร เข้าหัว RJ45 ต้องเรียงสีอย่างไร
เดี๋ยวนี้คอมพิวเตอร์เป็นเรื่องใกล้ตัวมากขึ้น ใครมีลูกหลานก็คงจะเห็นชัดว่าเขาเหล่านั้นมักจะมีความสนใจในการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ทั้งที่การเริ่มต้นอาจจะมาจากการเล่นเกมส์ก็ตาม เมื่อเขามีความสนใจก็คงต้องส่งเสริมกันล่ะครับ

ต่อมาวิวัฒนาการมากขึ้น การเชื่อมต่อกับโลกภายนอกก็ตามมาถึงในบ้าน ครั้นจะซื้อทุกอย่าง พ่อแม่ก็คงเห็นว่าไม่ค่อยจะมีพัฒนาการในการแก้ไขปัญหา ก็เลยมาถามว่าทำไงให้เด็ก ๆ เหล่านั้นมีความสนใจเรียนรู้อะไรเพิ่มขึ้นมาบ้าง คำตอบจากพ่อแม่เด็กครับ "ไม่รู้เหมือนกัน" ...วันนี้ก็เลยเอาเรื่องสายเน็ตเวิร์ก หรืออาจจะได้ยินคนเรียกว่าสาย UTP (Unshielded Twisted Pair) มาเล่าสู่กันฟังครับ

ปัจจุบันสายเน็ตเวอร์กที่นิยมใช้เดินในอาคาร ก็คือสาย UTP หรืออาจจะเรียกว่า 10BaseT หรืออาจได้ยินว่าสาย CAT5 ซึ่งสาย CAT5 จะสามารถรองรับการสื่อสารข้อมูลได้ถึง 100 เมกกะบิตต่อวินาที (100 megabit per second)

สาย CAT5 จะเป็นสายที่มีตีเกลียวกัน 4 คู่ (รวมแล้วมีทั้งหมด 8 เส้น) เราถึงได้เรียกว่า Unshielded Twisted Pair (UTP)

รหัสสีของสาย CAT5 ทั้ง 4 คู่ จะใช้ตามค่ามาตรฐานของ Electronic Industry Association/Telecommunications Industry Association's Standard 568B ดังตาราง

สายคู่ที่ 1
ขาว/น้ำเงิน
น้ำเงิน



สายคู่ที่ 2
บาว/ส้ม
ส้ม
สายคู่ที่ 3
ขาว/เขียว
เขียว

สายคู่ที่ 4
ขาว/น้ำตาล
น้ำตาล

หัวต่อ (Connectors)

หัวต่อสาย CAT5 UTP เราจะเรียกกันติดปากว่า หัว RJ45 (RJ ย่อมาจาก Registered Jack)

ในมาตรฐานของ IEEE กำหนดให้ Ethernet 10BaseT ต้องมีสายตีเกลียวเป็นคู่ ๆ และคู่ที่หนึ่งจะเชื่อมต่อเข้ากับขา 1 และ 2 , และ คู่ที่สองจะต่อเข้ากับขา 3 และ 6 ส่วนขา 4 และ 5 จะข้ามไม่ใช้งาน


การเชื่อมต่อสายตามมาตรฐาน EIA/TIA-568B RJ-45 :

ในการใช้งานจะใช้แค่ 2 คู่ในการรับส่งข้อมูลตามมาตรฐาน 10BaseT โดยใช้คู่ที่ 2 (ขาว/สัม , ส้ม) และคู่ที่ 3 (ขาว/เขียว , เขียว)

คู่ที่ 2ต่อเข้ากับขา 1 และ2ดังนี้:
ขา 1 ใช้สี ขาว/ส้ม
ขา2 ใช้สี ส้ม
คู่ที่3ต่อเข้ากับขา3 และ6ดังนี้:
ขา3 ใช้สี ขาว/ส้ม
ขา6 ใช้สี ส้ม




ส่วนสองคู่ที่เหลือให้ต่อดังนี้ครับ



คู่ที่ 1
ขา4 ใช้สี น้ำเงิน
ขา5 ใช้สี ขาว/น้ำเงิน
คู่ที่ 4
ขา7 ใช้สี ขาว/น้ำตาล
ขา8 ใช้สี น้ำตาล


การเรียงสีให้ดูตามรูปก็ได้ครับ



เมื่อจัดสีให้ตรงตามแบบแล้วก็ทำการตัดให้ปลายเท่ากันแล้วใส่สายเข้าไปในหัว RJ45





โดยให้ปลายของสายแต่ละเส้นไปชนกับด้านบนสุดของหัว RJ45 เมื่อชนสุดแล้วใช้คีมสำหรับเข้าหัว RJ45 บีบให้แน่น จากนั้นให้ทำเหมือนกันทั้งสองด้าน





--------------------------------------------------------------------------------



สายไข้ว (Crossover Cables)

ในการเข้าสายแบบพิเศษ หรือที่เรียกกันว่า สายไขว้ (Crossover Cable) จะมีการเปลี่ยนตำแหน่งของปลายสายด้านหนึ่งของสายเคเบิล ซึ่งจะสลับกันจาก ขา 1&2 ไปเป็นขา 3&6 และจากขา 3&6 ไปเป็นขา 1&2 ส่วนขา 4&5 และ 7&8 ไม่เปลี่ยนแปลง




เพื่อให้เข้าใจจะมีการต่อสายทั้งสองด้านดังนี้ครับ:
ปลายด้านปกติ (Standard) ปลายด้านไขว้ (Crossover) ขา 1 ขาว/ส้ม ขา 1 ขาว/เขียว ขา 2 ส้ม ขา 2 เขียว ขา 3 ขาว/เขียว ขา 3 ขาว/ส้ม ขา 4 น้ำเงิน ขา 4 น้ำเงิน ขา 5 ขาว/น้ำเงิน ขา 5 ขาว/น้ำเงิน ขา 6 เขียว ขา 6 ส้ม ขา 7 ขาว/น้ำตาล ขา 7 ขาว/น้ำตาล ขา 8 น้ำตาล ขา 8 น้ำตาล
ข้อมูลในตารางจะใช้สำหรับปลายด้านที่เป็นสายไขว้ (Crossover End)



คู่ที่ 2ต่อเข้ากับขา 1 และ2ดังนี้:
ขา1 ใช้สี ขาว/เขียว
ขา2 ใช้สี เขียว
คู่ที่ 2ต่อเข้ากับขา3 และ6ดังนี้:
ขา3 ใช้สี ขาว/ส้ม
ขา6 ใช้สี ส้ม



ภาพที่แสดงจะเป็นการเรียงสีของสายที่จะทำเป็นปลายสายไขว้





เมื่อสอดปลายของสายแต่ละเส้นไปชน

วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2554

หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์

หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์

หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์            การทำงานของคอมพิวเตอร์ เริ่มจากการป้อนข้อมูลเข้าทางหน่วยป้อนข้อมูล (Input Unit) ผ่านไปยังหน่วยประมวลผลข้อมูล (CPU : Central Processing Unit) โดยหน่วยประมวลผลข้อมูลกลาง จะทำงานร่วมกับหน่วยความจำ (Memory Unit) เมื่อได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ จะส่งข้อมูลออกไปยังหน่วย แสดงผล (Output Unit) ขบวนการทำงานสามารถเขียนเป็นแผนภาพ ได้ดังนี้ภาพเคลื่อนไหว เช่น ภาพคน สัตว์ สิ่งของ เป็นต้น กลับสู่ด้านบน
รูปที่ 1 : แสดงหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์




หลักการทำงานของอุปกรณ์ต่อพ่วง            อุปกรณ์ต่อพ่วง คือ อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่นำมาต่อพ่วงกับคอมพิวเตอร์เพื่อทำให้เกิดประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น นำอุปกรณ์มาต่อพ่วงกับคอมพิวเตอร์เพื่อพิมพ์ข้อมูล เพื่อสแกนรูปภาพ เพื่อทำให้เกิดเสียงเพลง เพื่อควบคุมไฟวิ่ง เพื่อตั้งศูนย์ถ่วงล้อรถยนต์ เพื่อควบคุมเครื่องจักรกลในโรงงานต่าง ๆเป็นต้น หลักการทำงานของอุปกรณ์ต่อพ่วงแต่ละชนิด จะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับว่าจะให้อุปกรณ์ต่อพ่วงชนิดนั้นทำงานใด แต่อุปกรณ์ที่นำมาต่อพ่วงกับคอมพิวเตอร์จะต้องต่อสายเคเบิล หรือสายนำสัญญาณเข้ากับพอร์ตด้านหลังของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งอาจจะเป็นพอร์ตขนานหรือพอร์ตอนุกรมก็แล้วแต่ที่จะกำหนด และโดยทั่วไปจะต้องมีโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่ใช้ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่อพ่วง เช่นต่อพ่วงเครื่องพิมพ์เข้ากับคอมพิวเตอร์ จะต้องติดตั้งไดรเวอร์เพื่อให้คอมพิวเตอร์รู้จักกับเครื่องพิมพ์ตัวนั้นหรือนำคอมพิวเตอร์ไปควบคุมไฟวิ่งจะต้องเขียนโปรแกรมควบคุม ไฟวิ่งติดตั้งลงในคอมพิวเตอร์ด้วย กลับสู่ด้านบน


อุปกรณ์ต่อพ่วงประเภทเครื่องพิมพ์            เครื่องพิมพ์ (Printer) เป็นอุปกรณ์ต่อพ่วงกับคอมพิวเตอร์เพื่อพิมพ์ข้อมูลออกทางกระดาษพิมพ์ โดยรับข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ ผ่านสายเคเบิลไปยังเครื่องพิมพ์ดังรูป กลับสู่ด้านบน
รูปที่ 2 : แสดงการเชื่อต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้ากับคอมพิวเตอร์


            เมื่อต่อเชื่อมเครื่องพิมพ์เข้ากับ เครื่องคอมพิวเตอร์ได้แล้วให้ทำการติดตั้ง ไดรเวอร์ที่บริษัทให้มาพร้อมกับเครื่องพิมพ์ซึ่ง อาจจะเป็น แผ่นซีดีรอมหรือแผ่นดิสก์ โดยการใส่แผ่นซีดีรอมหรือแผ่นดิสก์เข้าไป ในเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรมจะทำงานโดยอัตโนมัติ (Autorun) แล้วทำการติดตั้งตาม เมนูที่ปรากฏบนจอภาพ

รูปที่ 3 : แสดงไดรเวอร์ที่ติดตั้งเพื่อใหคอมพิวเตอร์รู้จักเครื่องพิมพ์




ประเภทของเครื่องพิมพ์1. เครื่องพิมพ์ดอตเมตริก
2. เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก
3. เครื่องพิมพ์เลเซอร์
1. เครื่องพิมพ์ดอตเมตริก
            เครื่องพิมพ์ดอตเมตริก (Dot Matrix) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้หัวเข็มกระแทกลงไปบนผ้าหมึกเพื่อให้หมึกที่ จะพิมพ์ตัวอักษรไปปรากฏบนกระดาษพิมพ์ เวลาพิมพ์จะมีเสียงดังมาก ตัวเครื่องพิมพ์จะมีราคาแพงส่วนผ้าหมึกจะมีราคาถูก ปัจจุบันใช้ในงานพิมพ์เอกสารที่ต้องการสำเนาหลายชุด เช่นใบสั่งซื้อ บิลเงินสด ใบเสร็จรับเงินหรือใบส่งของ เป็นต้น
กลับสู่ด้านบน
รูปที่ 4 : แสดงเครื่องพิมพ์ดอตเมตริก


            หัวพิมพ์จะประกอบด้วยเข็มโลหะเล่มเล็ก ๆ วางเรียงกันเป็นแถวจำนวน 9 เข็มหรือ 24 เข็มเข็มแต่ละเล่มจะรับสัญญาณ ควบคุมให้พุ่งผ่านผ้าหมึก (Ribon) ไปตกกระทบบนกระดาษซึ่งมีล้อยางรองรับอยู่ด้านหลังให้เรียงจุดเป็นตัวอักษรหรือภาพ โดยล้อยางจะทำหน้าที่เคลื่อนกระดาษให้เลื่อนบรรทัดในการพิมพ์ ความเร็วในการพิมพ์นับเป็นจำนวนตัวอักษรต่อวินาที เครื่องพิมพ์ที่มีความเร็วสูงสามารถเคลื่อนหัวพิมพ์ได้สองทิศทาง มีทั้งขนาดแคร่สั้นและแคร่ยาว สามารถพิมพ์ได้ทั้งสีและขาวดำ ถ้าเป็นการพิมพ์ประเภทสีจะใช้หลักการเคลื่อนผ้าหมึกสี (น้ำเงิน เขียว แดง ดำ) ผสมสีกัน

2. เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก
            เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก (Ink Jet Printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่อาศัยหลักการพ่นหมึกออกมาบนกระดาษพิมพ์โดยมีหัวพิมพ์เคลื่อน ที่บนแกนโลหะ การทำงานของหัวพิมพ์ใช้วิธีการฉีดพ่นน้ำหมึกเป็นจุดขนาดเล็ก ๆ จากกลักน้ำหมึกให้เป็นตัวอักษรหรือรูปภาพ แทนลงบนกระดาษ ความละเอียดของการพิมพ์วัดเป็นจำนวนจุดต่อตารางนิ้ว ขนาดกระดาษที่ใช้มักเป็นขนาดA4(8.27 X 11.69 นิ้ว) หรือขนาดที่เล็กกว่า ความเร็วในการพิมพ์นับเป็นจำนวนหน้าต่อนาที การพิมพ์สีจะใช้หลักการพ่นหมึก3 สีคือ น้ำเงิน แดง และเหลือง ผสมกัน

รูปที่ 5 : แสดงเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก


            ข้อดีของเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึกคือ มีความเร็วในการพิมพ์สูงกว่าแบบดอตเมตริก สามารถพิมพ์ตัวอักษรและภาพได้หลายแบบ มีคุณภาพสูง สามารถพิมพ์ได้ทั้งสีและขาวดำ แต่มีข้อเสียคือความคมชัดน้อยกว่าเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ ไม่สามารถพิมพ์กระดาษสำเนาหลายชั้นเหมือนกับเครื่องพิมพ์แบบดอตเมตริกได้ ไม่สามารถพิมพ์ลงบนกระดาษผิวมันและลื่นได้ เพราะหมึกอาจเลอะเปื้อนกระดาษหมึกของเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึกจะมีราคาแพงมาก แต่ตัวเครื่องพิมพ์จะมีราคาถูก หมึกของเครื่องพิมพ์แบบนี้จะเก็บอยู่ในตลับหมึก เมื่อหมึกหมดก็เพียงแต่เปลี่ยนตลับหมึกอันใหม่ก็ใช้งานได้ทันที นอกจากการเปลี่ยนตลับหมึกแล้วยังสามารถเติมหมึกเองก็ได้สำหรับเครื่องบางยี่ห้อ

3. เครื่องพิมพ์เลเซอร์
            เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ (Laser Printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ มีราคาแพงกว่าเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก มีคุณภาพในการพิมพ์สูงเหมาะกับงานพิมพ์ที่ต้องการความเร็วและตัวอักษรคมชัด มีหลักการทำงานคล้ายกับเครื่องถ่ายเอกสาร โดยจะทำการแปลงข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ให้เป็นรหัสแล้วใช้ลำแสงเลเซอร์ยิงเป็นรูปภาพต้นแบบลงบนแท่นพิมพ์ที่เป็นล้อยาง (Drum) แล้วทำการใช้ความร้อนดูดผงหมึกจากกลัก (Toner) เข้ามาติดกับล้อยางตามแบบพิมพ์ จากนั้นกระดาษจะถูกรีดด้วยล้อยาง ผ่านแม่พิมพ์ที่มีผงหมึกติดอยู่ทำให้เกิดเป็นตัวอักษรหรือภาพบนกระดาษ ความละเอียดของการพิมพ์วัดเป็นจำนวนจุดต่อตารางนิ้ว (Dot Per Inch : DPI) ขนาดกระดาษที่ใช้มักเป็นกระดาษขนาด A4 หรือขนาดที่เล็กกว่า ความเร็วในการพิมพ์ ความเร็วในการพิมพ์นับเป็นจำนวนหน้าต่อนาที

รูปที่ 6 : แสดงเครื่องพิมพ์เลเซอร์


            ข้อดีของเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์คือ มีความเร็วในการพิมพ์สูง พิมพ์ตัวอักษรและภาพได้หลายแบบ มีคุณภาพและความคมชัดมากกว่าเครื่องพิมพ์แบบดอตเมตริกและเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก แต่มีข้อเสียคือ ไม่สามารถพิมพ์กระดาษหลายชั้นที่ต้องการสำเนาได้ กลักผงหมึกมีราคาแพงมาก กระดาษที่ใช้ต้องมีคุณภาพดี การบำรุงรักษาค่อนข้างยุ่งยากเมื่อเทียบกับเครื่องพิมพ์แบบดอตเมตริก ปัจจุบันมีบางบริษัทนำเอาตลับหมึกใช้แล้วมาผลิตใช้ ใหม่อีกครั้งแล้วขายในราคาถูก ตลับหมึกประเภทนี้ควรจะระมัดระวังในการซื้อใช้ เพราะจุดนี้อาจจะเป็นเงื่อนไขให้ผู้ผลิต เครื่องพิมพ์ยกเลิกสัญญารับประกัน



อุปกรณ์ต่อพ่วงประเภทเครื่องพลอตเตอร์            พลอตเตอร์ (Plotter) เป็นอุปกรณ์แสดงผลต่อพ่วงกับคอมพิวเตอร์เพื่อวาดภาพ กราฟ วงจรลวดลายต่าง ๆ ลงบนกระดาษขนาดใหญ่ ๆ เหมาะกับงานด้านวาดภาพกราฟิก งานด้านการออกแบบที่ต้องการคุณภาพสูง กลับสู่ด้านบน
รูปที่ 7 : แสดงเครื่องพลอตเตอร์


            หลักการทำงาน พลอตเตอร์ประกอบด้วยปากการหมึกหลายสี จำนวน 1 - 6 แท่ง เคลื่อนที่บนแกนโลหะ ควบคุมการทำงานด้วยซอฟต์แวร์ ทำการวาดจุดเล็ก ๆ ให้เป็นเส้น ลวดลายหรือภาพลงบนกระดาษขนาดใหญ่ แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ

1. Flatbed Plotter เป็นพลอตเตอร์ประเภทที่ใส่กระดาษวางไว้อยู่กับที่ แต่ส่วนเคลื่อนที่คือปากกา ซึ่งจะเคลื่อนที่ไปมาบนแกนโลหะเพื่อวาดลงบนกระดาษอีกทีหนึ่ง

รูปที่ 8 : แสดงเครื่องพลอตเตอร์แบบ Flat bed


2. Drum Plotter เป็นเครื่องพลอตเตอร์ที่มีล้อยางด้านล่าง ทำหน้าที่เคลื่อนกระดาษ ส่วนปากกาและหมึกจะอยู่ด้านบน เคลื่อนที่ไปทางด้านซ้ายและขวาเพื่อวาดรูปหรือวงจรตามต้องการ

รูปที่ 9 : แสดงเครื่องพลอตเตอร์แบบ Drum




อุปกรณ์ต่อพ่วงประเภทลำโพง            ลำโพง (Speaker) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับสัญญาณข้อมูลจากการ์ดเสียงที่เป็นสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นสัญญาณเสียง ลำโพงที่มา พร้อมกับคอมพิวเตอร์ ส่วนใหญ่จะเป็นลำโพงขนาดเล็กที่มีคุณภาพไม่ดีนัก แต่เราสามารถหาซื้อลำโพง คุณภาพสูงมาเปลี่ยนได้เพื่อจะได้ฟังเพลงหรือเล่นเกมได้อรรถรสมากขึ้น กลับสู่ด้านบน
รูปที่ 10 : แสดงอุปกรณ์ต่อพ่วงประเภทลำโพง




อุปกรณ์ต่อพ่วงประเภทสแกนเนอร์            สแกนเนอร์ (Scanner) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้อ่านภาพ และข้อความจากกระดาษ แล้วแปลงเป็นข้อมูลเพื่อป้อนเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยนำสายสแกนเนอร์ต่อเข้ากับพอร์ตขนานหรือพอร์ต USBของคอมพิวเตอร์ ขึ้นอยู่กับสแกนเนอร์แต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อ กลับสู่ด้านบน
รูปที่ 11 : แสดงการต่อพ่วงสายสแกนเนอร์เข้ากับคอมพิวเตอร์


            สแกนเนอร์ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน มักจะเป็นสแกนเนอร์แบบแท่นเรียบ ( Flatbed Scanner) สแกนเนอร์แบบนี้ สามารถสแกนภาพบนกระดาษได้ครั้งละ 1 แผ่น โดยส่วนใหญ่สแกนเนอร์แบบนี้จะสแกนขนาดกระดาษได้กว้าง 8.5 นิ้ว ยาว 11 นิ้ว แต่สแกนเนอร์บางตัวอาจจะสแกนได้กว้างตั้งแต่8.5 นิ้วและยาวได้ถึง 14 นิ้ว เป็นสแกนเนอร์ที่มีคุณภาพและเป็นที่นิยมใช้งานกันมาก

รูปที่ 12 : แสดงสแกนเนอร์แบบแท่นเรียบ




อุปกรณ์ต่อพ่วงประเภทเครื่องอ่านรหัสแท่ง            เครื่องอ่านรหัสแท่ง (BarCode Reader) เป็นอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ มีลักษณะคล้ายปากกาหรือลักษณะอื่น ๆ ทำหน้าที่อ่านรหัสข้อมูลที่ติดไว้บนสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ โดยทั่วไปมักนิยมใช้บริการขายสินค้า ณ จุดซื้อขาย (Point Of Sales Terminals) ของธุรกิจค้าปลีก ห้างสรรพสินค้า หรือการบริการยืมคืนหนังสือในห้องสมุดขนาดใหญ่ที่ต้องการ ความรวดเร็วในการกรอกรายละเอียดข้อมูลที่เป็นข้อความและตัวเลข กลับสู่ด้านบน
รูปที่ 13 : แสดงการเครื่องอ่านรหัสแท่งที่ใช้ในธุรกิจค้าปลีก


            BarCodes Reader ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาในการกรอกข้อมูลทางแป้นพิมพ์ที่มีรายละเอียดของตัวอักษรและตัวเลขจำนวนมาก หลักการทำงานจะใช้วิธีการยิงแสงเลเซอร์เพื่ออ่านแถบรหัสแท่งสีดำที่พิมพ์เรียงกันไว้ มีขนาด หนาบางแตกต่างกัน ติดอยู่บนสินค้าหรือผลิตภัณฑ์แล้วนำรหัสข้อมูลที่ได้ไปเปรียบเทียบกับรายละเอียดข้อมูล ที่จัดเก็บไว้ในฐานข้อมูล (Database) แล้วนำข้อมูลไปแปลงเป็นรายละเอียดต่าง ๆ ที่จัดเก็บไว้ใน เครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อนำไปประมวลผลต่อไป โดยที่การทำงานของBarCode Reader นั้นจะต้อง มีโปรแกรมควบคุมการทำงานด้วย

รูปที่ 14 : แสดงรหัสแท่งสีดำที่พิมพ์เรียงกันไว้


รูปที่ 15 : แสดงเครื่องอ่านรหัสแท่งแบบต่าง ๆ




อุปกรณ์ต่อพ่วงประเภทสแกนเนอร์            จอยสติก (Joystick) คืออุปกรณ์ที่มีลักษณะเป็นคันโยก มีปุ่มบังคับที่ด้ามคันโยก เพื่อควบคุมตำแหน่งบนจอภาพได้ทุกตำแหน่งและทุกทิศทาง มักใช้ควบคุมโปรแกรมประเภทเกม ที่เป็นภาพเคลื่อนไหว วิดีโอเกม หรือโปรแกรมประเภทการออกแบบทำให้ผู้ใช้สามารถควบคุมและใช้งาน โปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้ง่ายและสะดวก เวลาใช้งานให้นำจอยสติกต่อพ่วงกับพอร์ตจอยสติกที่อยู่ในซึ่งอยู่ในส่วน ของการ์ดเสียงด้านหลังเครื่องคอมพิวเตอร์ กลับสู่ด้านบน
รูปที่ 16 : แสดงอุปกรณ์ต่อพ่วงประเภทจอยสติก




อุปกรณ์ต่อพ่วงประเภทสแกนเนอร์            กล้องดิจิตอล (Digital Camera) เป็นกล้องถ่ายภาพโดยไม่ใช้ฟิล์ม แต่จะเก็บข้อมูลเป็นไฟล์คอมพิวเตอร์แทนซึ่ง เราสามารถนำไฟล์ภาพมาประยุกต์ใช้ในงานต่าง ๆ ได้ การใช้งานจะต่อสายเคเบิลระหว่างกล้องดิจิตอลกับพอร์ตของ เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการสำเนาหรือโอนย้ายไฟล์ไปยังตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ กลับสู่ด้านบน
รูปที่ 17: แสดงอุปกรณ์ต่อพ่วงประเภทกล้องดิจิตอล


            กล้องดิจิตอล โดยส่วนใหญ่แล้วจะมีหน่วยความจำภายในตัวกล้องดิจิตอลเอง ซึ่งหน่วยความจำนี้สามารถเก็บภาพได้อย่างน้อย 20 ภาพ เมื่อถ่ายภาพจนเต็มหน่วยความจำก็ให้ย้ายไฟล์รูปภาพไป ไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วค่อยนำกล้องไปถ่ายภาพใหม่ได้อีกครั้ง

รูปที่ 18 : แสดงกล้องดิจิตอลประเภทที่มีหน่วยความจำภายในตัว




สื่อบันทึกข้อมูล            สื่อบันทึกข้อมูลหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าหน่วยความจำสำรอง มีหน้าที่ในการเก็บข้อมูล เพื่อนำมาเรียกใช้หรือแก้ไขในภายหลังได้ สื่อบันทึกข้อมูลที่ใช้กันอยู่มี หลายประเภทได้แก่ ฮาร์ดดิสก ์แผ่นดิสก์ ซีดีรอม ดีวีดีรอม ทัมร์ไดร์ฟหรือแฮนดรี้ไดร์ฟ เป็นต้น
ฮาร์ดดิสก์
            ฮาร์ดดิสก์คือสื่อบันทึกข้อมูล ที่มีความจุสูงและถูกติดตั้งไว้ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ โครงสร้างภายในฮาร์ดดิสก์ประกอบด้วยแผ่นจานแม่เหล็กหลายแผ่นวางเรียงซ้อนกันบนแกนตั้ง มีมอเตอร์ทำหน้าที่หมุนแผ่นจานแม่เหล็กด้วยความเร็วสูง แต่ละแผ่นจะมีหัวอ่านเขียน ยึดติดกับก้านหัวอ่าน (Access Arm) ทำหน้าที่เขียนอ่านในแต่ละด้านของแผ่นจานแม่เหล็ก แผ่นดิสก์แต่ละแผ่นมีโครงสร้างคล้ายกับแผ่นดิสก์เก็ต คือแบ่งเป็น แทร็กและเซ็กเตอร์ แต่ละแทร็ก ที่อยู่ในตำแหน่งตรงกันของทุกแผ่นเราเรียกว่า Cylinder ลักษณะการเข้าถึงข้อมูลทำได้ทั้งแบบ Sequential Access และ แบบRandom Access

รูปที่ 19: แสดงโครงสร้างฮาร์ดดิสก์ภายนอกและภายใน


            การวัดประสิทธิภาพของฮาร์ดดิสก์ จะพิจารณาจากเวลาเข้าถึงข้อมูล (Access Time) คือเวลาตั้งแต่เริ่มเข้าถึงตำแหน่งที่อยู่ของข้อมูล จนได้ปริมาณข้อมูลตามที่ต้องการ ต่อหนึ่งหน่วยเวลา โดยพิจารณาจากสิ่งต่อไปนี้คือ

- Seek Time คือเวลาที่หัวอ่านใช้ในการเคลื่อนที่ไปยังตำแหน่ง Track ที่ต้องการ ถ้าใช้เวลาน้อย แสดงว่าฮาร์ดดิสก์มีประสิทธิภาพสูงมาก

- Rotational Delay Time คือเวลาที่รอให้แผ่นดิสก์หมุนเคลื่อนที่ Sector ที่ต้องการมาตรงกับตำแหน่งของหัวอ่านเขียน ถ้าใช้เวลารอน้อยแสดงว่ามีประสิทธิภาพสูงมาก

- Data Tranfer Time คือเวลาที่ใช้ในการโอนถ่ายข้อมูลจากเซ็กเตอร์ของแผ่นดิสก์เข้าสู่หน่วยความจำ ยิ่งใช้เวลาน้อยแสดงว่ามีประสิทธิภาพสูง ซึ่งจะมีผลต่อปริมาณการโอนถ่ายข้อมูลต่อหนึ่งหน่วยเวลา (Tranfer Rate)

รูปที่ 20 : แสดงหัวอ่านเขียนของฮาร์ดดิสก์


ดิสก์เกต
            ดิสก์เกต (Diskette) หรือแผ่นฟลอบปี้ดิสก์ หรือแผ่นดิสก์ คือสื่อบันทึกข้อมูลที่มีลักษณะเนื้อแผ่นกลมบางทำมาจากพลาสติกไมล่าร์ หมุนอยู่ในพลาสติกห่อหุ้ม (Jacket) อีกชั้นหนึ่ง รหัสข้อมูล0 , 1 สร้างเป็นสัญญาณทางไฟฟ้าบนออกไซด์ของโลหะที่ฉาบไว้ บนแผ่นพลาสติกไมล่าร์ ต้องใช้ร่วมกับเครื่องขับแผ่นดิสก์ สามารถบันทึกและแสดงผลข้อมูลได้

รูปที่ 21 : แสดงรายละเอียดของแผ่นดิสก์ขนาดความจุ 1.44 MB


- metal shutter คือ แผ่นโลหะสำหรับเลื่อนเปิดปิดเพื่ออ่านเขียนข้อมูลภายในดิสก์
- data access area คือพื้นที่สำหรับอ่านเขียนข้อมูล
- hard plastic jacket คือพลาสติกแข็งห่อหุ้มแผ่นดิสก์ที่อยู่ภายใน
- label คือพื้นที่สำหรับติดแผ่นฉลากเพื่อแจ้งให้ทราบว่าเป็นแผ่นที่เก็บข้อมูลอะไร
- hub คือบริเวณหรือตำแหน่งที่เกี่ยวแผ่นดิสก์เมื่อใส่เข้าไปยังเครื่องขับดิสก์
- write-protect notch ตำแหน่งป้องกันการเขียนทับ สามารถเลื่อนเพื่อให้เขียนทับ
หรือไม่ก็ได้ บริเวณดังกล่าวจะมีสัญลักษณ์แสดงว่าปัจจุบันอยู่ในสภาวะใด

รูปที่ 22 : แสดงการใช้แผ่นดิสก์ร่วมกับเครื่องขับดิสก์


            โครงสร้างของเนื้อแผ่นดิสก์ มีการแบ่งโครงสร้างในการบันทึกข้อมูลเป็นวงกลมหลาย ๆ วงบนแผ่นดิสก์ เรียกว่า Track แต่ละ Track จะแบ่งออกเป็นส่วน ๆ แต่ละส่วนเรียกว่า Sector ในแต่ละSector สามารถบรรจุข้อมูลได้ 512 Byte และสามารถใช้บันทึกข้อมูลได้ทั้งด้านบนและด้านล่าง( 2 sides)แผ่นดิสก์แต่ละประเภทมีโครงสร้างจำนวน Track และจำนวน Sector ในแต่ละ Track ต่างกัน ทำให้แผ่นดิสก์มีขนาดความจุต่างกันด้วย

รูปที่ 23 : แสดง Track และ Sector ของแผ่นดิสก์


            แผ่นดิสก์ในปัจจุบันส่วนใหญ่จะมีขนาด 3.5 นิ้ว มีความจุ 1.44 MB แบบ Double Side High Density แบ่งเป็นวงกลมได้ทั้งหมด 80 วง (คือ 80 Track) ภายใน 1 Track แบ่งออกเป็น 18 Sector แต่ละ Sector เก็บข้อมูลได้ 512 Byte จำนวน 2 หน้า เพราะฉะนั้นแผ่นดิสก์ 1 แผ่นจึงมีความจุเท่ากับ 1,474,560 Byte (80 X 18 X 512 X 2 ) หรือมีค่าเท่ากับ 1,440 KB (1,024 Byte = 1 KB)หรือมีค่าประมาณ 1.44 MB (1,024 KB = 1 MB)

            อดีของแผ่นดิสก์คือง่ายและสะดวกในการพกพา สามารถบันทึกข้อมูลได้หลายครั้ง การอ่านเขียนข้อมูลทำได้ทั้งแบบลำดับ (Sequential) และแบบสุ่ม (Random) ราคาถูก ใช้ได้กับคอมพิวเตอร์แบบ ไมโครคอมพิวเตอร์ทุกประเภท แต่มีข้อเสียคือต้องใช้งานอย่างระมัดระวัง ความจุน้อย อายุการใช้งานน้อย ถ้าหักงอ โดนความร้อน โดนสนามแม่เหล็ก โดนน้ำ จะทำให้แผ่นดิสก์เสียหายและใช้งานไม่ได้

ซีดีรอม
            ซีดีรอม (Compact Disk-Read Only Memory) เป็นสื่อบันทึกข้อมูลที่มีความจุสูง โครงสร้างเป็นแผ่นพลาสติกทรงกลมบาง ๆ ที่ฉาบด้วยโลหะ metalic หลักการทำงานจะใช้แสงเลเซอร์ (Laser) ฉายลงไปบนพื้นผิวของแผ่น ทำให้เกิดหลุมรหัสเป็น 0 และ 1 การอ่านข้อมูลก็ใช้แสงเลเซอร์กวาดไปบนพื้นผิวของแผ่นแล้วใช้แสงสะท้อนกลับที่ได้แปลงไปเป็นข้อมูลของคอมพิวเตอร์ ที่คอมพิวเตอร์สามารถอ่านเข้าใจได้

รูปที่ 24 : แสดงแผ่นซีดีรอม


            แผ่นซีดีรอมมีลักษณะเหมือนแผ่นซีดีเพลงทั่วไป มีความจุประมาณ 600 - 700 MB แล้วแต่บริษัทผู้ผลิต มีความยาวของการบันทึกข้อมูลได้ประมาณ 74 นาที อ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีรอมได้อย่างเดียวผู้ใช้ไม่สามารถลบหรือบันทึก ข้อมูลเพิ่มเติมได้ ข้อมูลจะถูกบันทึกมาจากบริษัทผู้ผลิตแล้ว ประโยชน์ของซีดีรอมคือ ใช้ในการเผยแพร่ซอฟต์แวร์ หรือ ข้อมูลที่มีขนาดความจุมากพอสมควรเก็บรักษาได้ง่ายกว่าแผ่นดิสก์ การนำแผ่นซีดีรอมไปใช้งานจะต้องใช้ร่วมกับอุปกรณ์อ่าน ข้อมูลที่เรียกว่าซีดีรอมไดร์ฟ มีลักษณะการเข้าถึงข้อมูลแบบ Random Access             ความเร็วของซีดีรอมไดร์ฟจะใช้หน่วยวัดเป็น จำนวนเท่า ของความเร็วการอ่านข้อมูลที่ 150Kb ต่อวินาที ซึ่งเป็นความเร็วของซีดีรอมไดร์ฟรุ่นแรก ๆ โดยจะใช้สัญลักษณ์ตัวอักษร “X” ต่อท้ายเพื่อบอกจำนวนเท่า สำหรับซีดีรอมที่จำหน่ายในปัจจุบันมีความเร็วอย่างน้อย 50 X

รูปที่ 25 :แสดงแผ่นซีดีรอมและซีดีรอมไดร์ฟ


            ซีดีรอมอีกประเภทหนึ่งเรียกว่า WORM (Write Once Read Many ) มีลักษณะเช่นเดียวกับแผ่นซีดีรอมทั่วไป แต่ผู้ใช้สามารถบันทึกข้อมูลลงบนแผ่น WORM ได้ 1 ครั้ง โดยใช้ซีดีรอมไดร์ฟชนิดบันทึกได้ที่เรียกว่า CD-ROM Recordable แต่สามารถอ่านข้อมูลที่บันทึกไว้กี่ครั้งก็ได้ มีความจุประมาณ 650 MB มีลักษณะการเข้าถึงข้อมูลแบบ Random Access มีราคาแพงกว่าแผ่นซีดีรอมทั่วไป

รูปที่ 26 : แสดงแผ่นซีดีรอม WORM


            แผ่นซีดีรอมอีกประเภทหนึ่งเรียกว่า Erasable Optical Disks มีลักษณะแนวคิดในการเขียนอ่านได้หลาย ๆ ครั้ง เหมือนกับแผ่นดิสก์แต่ใช้แสงเลเซอร์ในการทำงาน การใช้งานต้องใช้งานร่วมกับ Optical Disk Drive หรือที่เรียกว่า MO (Magneto-optical) หรือที่เรียกว่า CD-Writer ปัจจุบันนิยมซื้อหามาใช้กันมากเพราะมีราคาถูก และใช้งานแทนซีดีรอมทั่วไปได้ เพราะสามารถอ่านหรือเขียนแผ่นซีดีรอมได้ มีขายตามร้านขายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั่วไป

รูปที่ 27 : แสดงแผ่นซีดีรอมที่สามารถอ่านและเขียนได้


ดีวีดีรอม
            ดีวีดีรอม (DVD-ROM) เป็นสื่อบันทึกข้อมูลที่มีความจุสูงมากกว่าซีดีรอม โครงสร้างของแผ่นเป็นแผ่นพลาสติกทรงกลมบาง ๆ ที่ฉาบด้วยโลหะ metalic ดีวีดีรอมสามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่า 4.7 GB ซึ่งเหมาะสำหรับการเก็บภาพยนตร์หรือไฟล์มัลติมีเดีย จำนวนมาก ภาพและเสียงของดีวีดีรอมจะมีความคมชัดมากกว่าซีดีรอม แต่แผ่นดีวีดีรอมจะต้องใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ ดีวีดีรอมไดร์ฟ อุปกรณ์ดีวีดีรอมไดร์ฟสามารถอ่านแผ่นได้ทุกประเภท            

รูปที่ 28 : แสดงแผ่นดีวีดีรอมที่ใช้ร่วมกับดีวีดีรอมไดร์ฟ


แฮนดี้ไดร์ฟ
            แฮนดี้ไดร์ฟ (Handy Drive) หรือทัมพ์ไดร์ฟ (Thum Drive) คือสื่อที่ใช้บันทึกข้อมูลอีกชนิดหนึ่งที่ปัจจุบัน ได้รับความนิยมใช้กันมาก สื่อบันทึกข้อมูลชนิดนี้สามารถอ่านและเขียนข้อมูลได้เหมือนกับแผ่นดิสก์ และฮาร์ดดิสก์ แต่มีข้อดีตรงที่ว่าพกพาได้สะดวกขนาดเล็กกว่าแผ่นดิสก์ มีความจุมากกว่าแผ่นดิสก์หลายเท่า เช่น 128 , 256 , 512 MB , 1 GB , 2 GB พอร์ตที่ใช้เชื่อมต่อกับสื่อบันทึกข้อมูลชนิดนี้คือพอร์ต USB (Universal Serial Bus)

  


วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ส่งงาน

เมมบอร์ดรุ่นใหม่ล่าสุด

เมนบอร์ดรุ่นล่าสุดที่รองรับ DDR3 เพื่อความแรงแบบฉุดไม่อยู่

เป็นเมนบอร์ดรุ่นล่าสุดที่ออกมารองรับกับซีพียูอย่าง Core 2 Quard ที่มีประสิทธิภาพสูง พร้อมด้วยเทคโนโลยีใหม่อย่าง DDR3 หน่วยความจำที่กำลังจะลงตลาดในอนาคต รองรับความแรงด้วยชิปใหม่อย่าง P35 จาก Intel และ มาตรฐานของ Socket775 เหมือนเดิม


Attached Image: monthly_06_2007/post-4-1182974496.jpg


Core 2 Quard คือ ปกติ cpu เมื่อก่อนมี Core แค่ Core เดียว แต่ตอนนี้มีถึง 4 Core แล้วนะครับ
Brand : ASUS
Model : P5K3 Deluxe WiFi-AP

CPU :
• Core 2 Quad
• Core 2 Extreme
• Core 2 Duo
• Intel Pentium D, Pentium 4

Chipset :
Intel P35 / ICH9R with Intel Fast Memory Access Technology

Font Side Bus : 1333 / 1066 / 800 MHz

Memory :
• 4 DIMM Max : 8GB
• DDR3 1333 / 1066 / 800 MHz Non-ECC, Unbuffered

Expansion Slots :
• 2 x PCI-E x16
• 2 x PCI-E x1
• 3 x PCI

Stroage :
• 6 x SATA II
• 1 x UDMA 133/100/66
• 2 x External SATA Port
• RAID SATA Support

Network Connection :
• Dual Gigabit Lan
• ASUS WiFi-AP IEEE 802.11g , IEEE 802.11b

Audio :
ADI AD1988B 8Ch HD

IEEE 1394 :
• 1 x IEEE1394a Back panel
• 1 x IEEE1394a Midboard

USB :
10 x USB2.0 Port

Back Panel I/O Ports :
• 1 x PS/2 Keyboard
• 1 x S/PDIF Out (Coaxial + Optical)
• 2 x External SATA
• 2 x IEEE1394a
• 2 x RJ45 port
• 6 x USB 2.0/1.1
• 1 x WiFi-AP Solo antenna jack
• 8-channel Audio I/O

Form Factor :
ATX Form Factor 12" x 9.6"

Warranty :
3 Year

วันพฤหัสบดีที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2554

คอมพิวเตอร์


1. เมนบอร์ด


 
                    เมนบอร์ด (Mainboard) เป็น อุปกรณ์ หลักในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งจะทำหน้าที่ในการรับ/ส่งข้อมูลจากอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อให้สามารถส่งผ่าน ข้อมูล ซึ่งกันและกันได้ โดยผ่านส่วนควบคุมนั้นคือ ชิปเซต (Chipset) เมนบอร์ดจะใช้งานร่วม กับ ตัวซีพียู เมนบอร์ด ที่มีวางขายอยู่ มีรายชื่อดังต่อไปนี้ ABIT, Albatron, ASROCK, ASUS, DFI, ECS, Gigabyte, Intel, Iwill, LEMEL, MSI, SHUTTLE, MATSONICและ P&A ซึ่งบางยี่ห้อก็จะทำเมนบอร์ดออกมารองรับกับซีพียูจากทั้งค่ายเลย เมื่อเราได้ซีพียูที่ต้องการมาแล้วต่อไปจะต้องดูว่ามีเมนบอร์ดตัวไหนบ้างที่ รองรับกับซีพียูตัวนี้ 




2. ซีดีรอม

 
                  ซีดีรอม (CD ROM ย่อมาจาก Compact Disc Read Only Memory) เป็น สื่อในการเก็บข้อมูลแบบออปติคอล (Optical Storage) ใช้ลำแสงเลเซอร์ในการอ่านข้อมูล แผ่นซีดีรอมมีลักษณะเป็นแผ่นจานกลมคล้ายแผ่นเสียงหรือแผ่นคอมแพคดิสก์สำหรับ ฟังเพลง ทำมาจากแผ่นพลาสติกเคลือบด้วยอลูมิเนียม เพื่อสะท้อนแสงเลเซอร์ที่ยิงมา เมื่อแสงเลเซอร์ที่ยิงมาสะท้อนกลับไป ที่ตัวอ่านข้อมูลที่เรียกว่า Photo Detector ก็อ่านข้อมูลที่ได้รับกลับมาว่าเป็นอะไร และส่งค่า 0 และ 1 ไปให้กลับซีพียู เพื่อนำไปประมวลผลต่อไป  ทั้งนี้ซีดีรอม 1 แผ่นสามารถเก็บข้อมูลได้ประมาณ 700 MB นะ สามารถเก็บข้อมูลในรูปข้อความ ข่าวสาร รูปภาพ เสียง รวมทั้งภาพวีดิโอไว้ในแผ่นซึ่งพร้อมจะนำมาใช้ได้ทันที 
 
 
 3. ฮาร์ดดิสก์
 
 
 
 
              ฮาร์ดดิสก์ (hard disk) หรือ จานบันทึกแบบแข็ง  คือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่บรรจุข้อมูลแบบไม่ลบเลือน มีลักษณะเป็นจานโลหะที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็กซึ่งหมุนอย่างรวดเร็วเมื่อทำ งาน การติดตั้งเข้ากับตัวคอมพิวเตอร์สามารถทำได้ผ่านการต่อเข้ากับมาเธอร์บอร์ด (motherboard) ที่มีอินเตอร์เฟซแบบขนาน (PATA) , แบบอนุกรม (SATA) และแบบเล็ก (SCSI) ทั้งยังสามารถต่อเข้าเครื่องจากภายนอกได้ผ่านทางสายยูเอสบี, สายไฟร์ไวร์ของ บริษัท Apple ที่เป็นที่รู้จักน้อยกว่า รวมไปถึงอินเตอร์เฟซอนุกรมแบบต่อนอก (eSATA) ซึ่งทำให้การใช้ฮาร์ดดิสก์ทำได้สะดวกยิ่งขึ้นเมื่อไม่มีคอมพิวเตอร์ถาวรเป็น ของตนเอง
 
 
4. พาวเวอร์ซัพพลาย
 
 
 
 
                พาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply)  คือ อุปกรณ์จ่ายไฟให้กับคอมพิวเตอร์ โดยรับกระแสและแรงดัน 220 โวลต์จากไฟฟ้าในอาคารแล้วจ่ายออกตามสายไฟสีต่าง ๆ ด้วยแรงดันที่ต่างกันไปยังอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่อยู่ในคอมพิวเตอร์  แล้วก็ตำแหน่งของพาวเวอร์ซัพพลายมักจะติดตั้งอยู่มุมขวาทางด้านหลังตัว เครื่องคอมพิวเตอร์(case) เป็นส่วนใหญ่ และอยู่ด้านหลังของดิสก์ไดร์ฟ เพื่อให้สะดวกต่อการเชื่อมต่อสายสัญญาณ หรือสายเคเบิลต่าง ๆ
 
 
5. RAM




                แรม หรือ หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่ม(RAM) เป็นหน่วยความจำหลัก ที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ยุค ปัจจุบัน หน่วยความจำชนิดนี้ อนุญาตให้เขียนและอ่านข้อมูลได้ในตำแหน่งต่างๆ อย่างอิสระ และรวดเร็วพอสมควร ซึ่งต่างจากสื่อเก็บข้อมูลชนิดอื่นๆ อย่างเทป หรือดิสก์ ที่มีข้อจำกัดในการอ่านและเขียนข้อมูล ที่ต้องทำตามลำดับก่อนหลังตามที่จัดเก็บไว้ในสื่อ หรือมีข้อกำจัดแบบรอม ที่อนุญาตให้อ่านเพียงอย่างเดียว
ข้อมูลในแรม อาจเป็นโปรแกรมที่กำลังทำงาน หรือข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล ของโปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่ ข้อมูลในแรมจะหายไปทันที เมื่อระบบคอมพิวเตอร์ถูกปิดลง เนื่องจากหน่วยความจำชนิดนี้ จะเก็บข้อมูลได้เฉพาะเวลาที่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้น